วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
     การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในอดีตจะใช้วิธีบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์และส่งไปยังปลายทางโดยอาศัยผู้ส่งดิสก์  เรียกการติดต่อสื่อสารแบบนี้ว่า  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีคนเป็นสื่อ รับ-ส่ง ข้อมูล
   1.1. ความหมายและองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
           เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer net-work) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันโดยใช้สื่อกลางต่างๆ เช่น สายสัญญาณ  คลื่นวิทยุ เป็นต้น เพื่อทำให้สามารถสื่อสาร  แลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้ทรัพยากรร่วมกันไก้
เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้ 6 ประเภท ดังนี้
      1. เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (local area network : LAN)
      2. เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (metropolitan area network : MAN)
      3. เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือแวน (wide area network : WAN)
      4. เครือข่ายภายในองค์กร หรืออินทราเน็ต (intranet)
      5. เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือเอ็กทราเน็ต (extranet)
      6. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (internet)

     เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบพื้นฐาน 2 ส่วนหลัก  คือ องค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ และองค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ โดยองค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้งานและเชื่อมต่อภายในเครือข่าย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์  สายสัญญาณ  เป็นต้น ส่วนองค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์  หมายถึง ระบบปฏิบัติการ หรือโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้สนับสนุนการทำงานและให้บริการด้านต่างๆ เพื่ออำนวย ความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ให้สามารถติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายได้




   1.2  การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
  การติดตั้งเครือข่ายขนาดเล็ก มีจุดประสงค์เพื่อใช้งานภายในบ้านหรือในสำนักงาน ขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น ข้อมูล เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ เป็นต้น
      1. อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีหลายชนิด ได้แก่ การ์ดแลน ฮับ สวิตซ์ โมเด็ม เราเตอร์ สายสัญญาณ ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันดังนี้
         1.1. การ์ดแลน (LAN card) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่

คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งโดยผ่านสายแลน




         1.2. ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
และเป็นตัวกระจายสัญญาณ



         1.3. สวิตช์ (switch) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ แต่ต่างจากฮับ คือ การรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั้นจะไม่กระจายไปยังทุกเครื่อง เนื่องจากสวิสต์จะรับกลุ่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นข้อมูลของเครื่องใด แล้วจึงนำข้อมูลนั้นๆส่งไปยังปลายทาง
อย่างอัตโนมัติ

         1.4. โมเด็ม (modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเพื่อให้สมมารถส่งผ่านสายโทรศัพท์หรือใยแก้วนำแสงได้ ทำให้ส่งสัญญาณได้ไกล


         1.5. อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายๆเครือข่ายเข้าด้วยกัน
การส่งข้อมูลจึงมีหลายเส้นทาง และทำหน้าเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล เพื่อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีราคาสูง


         1.6. สายสัญญาณ (cable) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล มีหลายแบบเช่นสายโคแอกซ์ (coaxial cable) สายใยแก้วนำแสง (fiber optic cable)
     



 2. การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็กการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้กันในปัจจุบันมี 2 แบบหลักๆ คือ  การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้  การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
         2.1. การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้  หากมีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายไม่เกินสองเครื่อง อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ยังต้องมีการ์ดแลนและสายสัญญาณ โดยไม่ต้องใช้ฮับและสวิตช์ เพราะถ้ามีคอมพิวเตอร์สองเครื่อง ก็สามารถเชื่อต่อโดยใช้สายไขว้ (cross line)
             การตัดสินใจซื้อ ฮับและสวิตซ์ มาใช้จะต้องคำนึงถึงเรื่องการขยายระบบเครือข่ายในอนาคตด้วย  ควรเลือกฮับและสวิตซ์ที่สามารถรับรองจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เท่ากับจำนวนที่คาดว่าจะมีในอนาคต
     

            2.2. การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล จากข้อกำจัดของเครือข่ายที่ใช้สายแลนที่ไม่สามารถเดินสายให้มีความยาวมากกว่า 100 เมตรได้ จึงต้องหาทางเลือกสำหรับระบบเครือข่ายระยะไกล ดังนี้
                      - แบบที่ 1 คือ ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ (repeater) ไว้ทุกๆระยะ 100 เมตร

แบบที่ 2 ใช้โมเด็ลหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อและเมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ

                     - แบบที่ 2 คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อ เละเมื่อเสร็จสิ้น ธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ แต่ความเร็วที่ได้จะได้แค่เพียงความสามารถของสายโทรศัพท์

แบบที่สาม ถือว่าเป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณที่เลือกใช้ คือ สายใยแก้วนาแสง

                        - แบบที่ 3 คือ เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณที่เลือกใช้ คือสายใยแก้วนำแสง สามารถส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วสูง  รวมถึงความปลอดภัยของข้อมูล

แบบที่ 4 ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สายเป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณวิทยุทางอากาศแทนการใช้สายโทรศัพท์เพื่อลดปัญหาจากการใช้สายสัญญาณ

                         - แบบที่ 4 คือ ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless lan) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณวิทยุทางอากาศแทนการใช้สายโทรศัพท์ เพื่อลดปัญหาจากการใช้สายสัญญาณ เหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด

แบบที่ 5 การใช้เทคโนโลยี G.SHDSL ในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล


                          - แบบที่ 5 คือ เทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตะกูล DSL (Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่ทำให้คู่สายทองแดง กลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิทัลความเร็วสูงโดยใช้เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล ในย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไป ทำให้สามารถส่งข้อมูลในขณะเดียวกันกับการใช้งานโทรศัพท์ได้
แบบที่ 6 การใช้เทคโนโลยีแบบ ethernet over VDSL ในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล


                          - แบบที่ 6 คือ เทคโนโลยีแบบ ethernet over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถจะติดตั้งใช้งานได้เอง มีต้นทุนต่ำโยสามารถเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ทั่วไป

1.3 การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็กการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก สามารถเลือกใช้ระบบปฏิบัติการแ...


    1.3. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
    สามารถเลือกใช้ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย( Network OS ) เป็นระบบปฎิบัติการสำหรับออกแบบและจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ปัจจุบันระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ คือการจัดการข้อมูลและโปรแกรมทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์และส่วนประกอบอื่นๆของระบบปฎิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องไคลเอนด์ เช่นการประมวลผล การติดต่อกับผู้ใช้ เป็นต้น
           ปัจจุบันซอฟต์แวร์สำหรับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก  มีให้เลือกใช้งานหลายโปรแกรม   เช่น  
   
   1. ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นโอเอส (Linux community enterprise operating system)
          นิยมเรียกย่อว่า CentOS ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณขององค์กร เนื่องจาก CentOS เป็นซอฟแวร์เปิดเผยโค้ด (open source software) ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโค้ดไปใช้่งานโดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์



    2. ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (Windows server)   ปัจจุบันถูกพัฒนาเป็น Windows Server 2008  ออกแบบเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชั่นและบริการอื่นๆ ที่มีความทันสมัยบนเว็บไซต์   และยังเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบปฏิบัติการพื้นฐาน เช่น ระบบเครื่องมือเว็บ เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชัน เพิ่มคุณภาพความปลอดภัย เครื่องมือจัดการช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรอื่นๆ ได้มากขึ้น โดยมีคุณสมบัติดังนี้   
      1. สร่างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับภาระงานของเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงความต้องการด้านแอพพลิเคชันต่างๆด้วย
       2. เวอร์ชวลไลเซซั่น (virtualization) เป็นการสร้างระบบเสมือนจริงที่มีรากฐานจากระบบ hypervisor ช่วยให้สามารถรวมเซิร์ฟเวอร์และใช้งานฮาร์ดแวร์ได้อย่างเต็มที่
       3. มีระบบจัดการและดูแลเว็บ และแอพพลิเคชันที่ได้รับการพัฒนามากขึ้น
       4. ระบบความปลอดภัย ได้รับการพัฒนาให้มีความทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งผสานการใช้เทคโนโลยีด้าน IDA หลายชิ้น





2. อินเทอร์เน็ต
   2.1 ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต         อินเทอร์เน็ต (internet) มาจากคำว่า interconnection network หมายถึง การใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกันโดยผ่านสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น สายโทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้น





          2.2 บริการบนอินเทอร์เน็ต

         ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้น จึงมีการนำอินเตอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท  ดังต่อไปนี้
      1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail or e-mail) เนื่องจากในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกัน ทำให้การส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันสามารถทำได้ง่าย


      2. เมลลิงลิสต์ (mailing list) เป็นเสมือนเครื่องมือที่ใช้กระจายข่าวสารและข้อมูลเฉพาะกลุ่ม






      3. การสื่อสารในเวลาจริง (realtime communication) เป็นการสื่อสารกันที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น แชท (chat) ไลน์ (line) เฟสบุ๊ค (facebook)



 4. เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking web site) เป็นชุมชนออนไลน์ที่กลุ่มคนรวมกันเป็นสังคม เช่น facebook





      5. บล็อก (blog) ย่อมาจากคำว่า เว็บบล็อก (webblog) เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เขียนบันทึกเรื่องราว เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง เรียกว่า ไดอารี่ออนไลน์ (diary online)


      6. วิกิ (wiki) เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ที่มีความรู้ในแต่ละเรื่องมาให้ข้อมูล เช่น Wikipedia




 7. บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล (remote login/telnet) บริการนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปทำงานต่างๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งผ่านทางคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลกันก็ตาม



     
       8. การโอนย้ายข้อมูล (file transfer protocol : FTP) เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะอยู่ใกล้หรือไกล




  9. บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือ ยูสเน็ต (usenet) เป็นอีกบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีลักษณะเป็นกลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต



      10. เวิลด์ไวด์เว็บ (world wide web) ซึ่งอาจเรียกย่อว่า เว็บ (web) เป็นบริการเพื่อการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นการให้บริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) เป็นวิธีการที่จะเชื่อมโยงข้อมูลจากเอกสารหนึ่งไปข้อมูลของอีกเอกสารหนึ่ง



11. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce หรือ e-commerce) เป็นการทำธุรกรรมซื้อขายสินค้าและบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยนำเสนอสินค้าและบริการทางเว็บไซต์




 2.3. คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
      1. จรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ต (netiquette)

      1.1. จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 
      - ตรวจสอบกล่องรับไปรษณีย์ทุกวัน จำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมาย
      - ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการทิ้ง
      - โอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
      - พึงระลึกไว้เสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่น
      - ไม่ควรจะส่งจดหมายกระจายไปยังผู้รับจำนวนมาก
  






        1.2. จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนาผ่านเครือข่าย
   - ควรสนทนากับผู้ที่รู้จักและต้องการสนทนาด้วยเท่านั้น
   - ก่อนการเรียกคู่สนทนา ควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู้สนทนาก่อน
   - หลังการเจรียกคู่สนทนาไปแล้ว ไม่ตอบกลับมาแสดงว่าเขาอาจติดธุระอยู่
   - ควรใช้วาจาสุภาพ






         1.3 จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าวหรือกระดานสนทนา
   - เขียนเรื่องให้กระชับ ใช้ข้อความสั้น
   - ไม่ควรเขียนข้อความพาดพิงถึงสถาบันของชาติในทางที่ไม่สมควร
   - ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์
   - ไม่ควรสร้างข้อความเท็จ
   - ไม่ควรใช้เครือข่ายส่วนรวมเพื่อใช้ประโยชน์ส่วนตน








      2. บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์ 
   1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น

   2. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น
   3. ไม่เปิดดูข้อมูลในแฟ้มของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
   4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
   5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
   6. ไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่น

   7. ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
   8. ไม่นำเอาผลงานคนอื่นมาเป็นของตัวเอง
   9. คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
   10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดนเคารพกฎ ระเบียบ กติกา







 กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 6 ฉบับ ดังนี้
 1. กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
 2. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
 3. กฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
 4. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)
 5. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer Law)

  6. กฎหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ (National  Information Infrastructure)




ขอบคุณค่ะ




จัดทำโดย
นางสาว ชุติมา ณรงค์
เลขที่ 27 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/9
โรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี